วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

เทคนิคการตรวจซ่อม SWITCHING POWER SUPPLY

เทคนิคการตรวจซ่อม

SWITCHING POWER SUPPLY

ตระกูลใช้ ไอซี STRW……. ทุกยี่ห้อ

ไฟไม่จ่าย ภาคจ่ายไฟไม่ทำงาน(ฟิวส์ไม่ขาด)

 ขั้นตอนการตรวจซ่อม

 1. วัดไฟ +300 V ปกติหรือไม่

 2. ให้วัดไฟเลี้ยงของ IC801 ที่ขา 4 ปกติ +21V ถ้าวัดได้ 0 V

 3. ให้ลอยขา 4 ของ IC801 ออก แล้ววัดค่าแรงไฟที่ลายปริ้นส์ ได้ +21V หรือไม่ได้

 4. ถ้าวัดได้ +21 V พอดี สรุปได้ว่าปัญหาอยู่ที่ IC Switching IC801 เบอร์ STRW6754 เสีย

 5. ถ้าหาก IC801 เสียจริง D821 ต้องช็อตด้วย D821 5.5 V



หลักการวิเคราะห์วงจรเมื่อไฟ B+ เกิน

ขั้นตอนการปฏิบัติ

1. ปลดโหลดออก เช่น ลอย H-OUT ออก

2. ให้ช็อตขา 2 ของ OPTO กับ กราวด์ของเครื่อง เปิดไฟแล้ว ทดลองวัดไฟ B+ ถ้าวัดไฟได้ค่าต่ำ ตัวเสียคือ SE…..

3. หากทำตามข้อ 2 แล้ว ไฟยังสูงอยู่ ให้ปิดสวิชท์

4. ให้ช็อตขา 3 กับ 4 ของ OPTO แล้วเปิดสวิชท์อีกครั้ง ถ้าวัดได้ไฟต่ำตัวเสียคือ OPTO แต่ถ้าไฟ B+ ยังสูง เหมือนเดิม ตัวเสีย คือ STR……..





หลักการวิเคราะห์วงจรเมื่อไฟ B+ จ่ายต่ำ

ขั้นตอนการปฏิบัติ

1. ก่อนเปิดสวิชท์ให้นำสายมิเตอร์วัดรอไว้

2. ให้หา R ค่าประมาณ 120 – 330 โอมห์ ต่อคร่อมระหว่างขา 1 กับ 2 ของ OPTO (ด้านไดโอด) ทดลองวัดไฟ B+ ถ้าวัดไฟ ได้ค่าสูงขึ้น ตัวเสียคือ SE…..

3. หากทำตามข้อ 2 แล้ว ไฟยังเหมือนเดิม SE… ไม่ใช่ตัวเสียแน่นอน เหลืออุปกรณ์ 2 ตัวคือ STRW…….. กับ OPTO

4. โดยหลักการแล้วในเมื่อไฟจ่ายต่ำวงจรอื่นๆไม่เสียแน่นอน ทดสอบโดยใช้ดิจิตอลมิเตอร์วัดแรงดันไฟที่ขา FB (6) ปกติจะวัดได้ประมาณ 0.4 V – 1.5 V ถ้าวัดได้ค่าต่ำกว่าตัวเสียคือ OPTOแต่ถ้าวัดได้ปกติ แสดงว่า STRW……. เสีย



โหลดลัดวงจรเป็นอย่างไร

โหลดของภาคจ่ายไฟจะประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก 2 วงจร 1. B+ (90 V , 135 V, 140, )

2. SOUND

ถ้าโหลดช็อต(ลัดวงจร)

1. ปิดเครื่องหยุดการจ่ายไฟให้เครื่อง

2. เช็ค ไดโอด Rectifier 90v,135v,140v ] ลีค ,ขาด ,ช็อต หรือไม่

3. เช็ค Diode ของ Rectifier ภาค Sound

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

ลักษณะของวงจรขยายกำลัง Class A ,Class B ,Class AB และ Class C

ลักษณะของวงจรขยายกำลัง Class A ,Class B ,Class AB และ Class C


วงจรขยายกำลังมีอยู่หลายชนิด สามารถแบ่งได้ตามลักษณะของจุดทำงานไฟตรง ( Quiescent point ,Q-point) ซึ่งจะแบ่งวงจรขยายออกได้เป็น 4 แบบ ใหญ่คือ วงจรขยาย Class A ,Class B ,Class AB และ Class C ตามลำดับ
วงจรขยาย Class A วงจรขยาย Class A ก็คือวงจรขยายเชิงเส้น เป็นวงจรที่กำหนดจุดทำงาน ที่ประมาณกึ่งกลางเส้นโหลด โดยวงจรนี้จะทำงานเป็นวงจรขยายเชิงเส้นในกรณีที่สัญญาณอินพุตขนาดน้อยๆ วงจรนี้ส่วนมากจะใช้ทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว โดย ทรานซิสเตอร์ตัวนี้จะทำงานขยายสัญญาณอินพุตตลอดทั้ง 1 Cycle หรือ 1 คาบเวลา วงจรประเภทนี้มีประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำเนื่องจากทรานซิสเตอร์ทำงานตลอดเวลาแม้ไม่มีสัญญาณอินพุตเข้ามาก็ตาม
วงจรขยาย Class B วงจรขยาย Class B เป็นวงจรขยายกำลังที่กำหนดให้จุดทำงาน Q-point อยู่ที่จุด Cut-Off พอดี ดังนั้นในสภาะอยู่นิ่งหรือไม่มีสัญญาณอินพุตเข้ามาในวงจรก็จะไม่มีกระแสใหล
ในตัวทรานซิสเตอร์เลย นั่นคือค่ากำลังงานสูญเสียที่ตัวทรานซิสเตอร์ก็จะน้อยมาก โดยตัวทรานซิสเตอร์จะทำงานขยายสัญญาณเพียงครึ่งคาบสัญญาณหรือ Half-Ctycle เท่านั้นส่วนอีกครึ่ง Cycle จะไม่ถูกขยาย ดังนั้นสัญญาณเอ้าพุตที่ได้ก็จะมีลัฏษณะเหมือนกับวงจร Half-wave rectifier ของไดโอด จึงไม่สามารถนำวงจรขยาย Class B นี้มาใช้ขยายเสียงได้เลยเพราะมีความเพี้ยนมาก แต่ถ้าต้องการจะนำมาขยายเสียง จะต้องใช้ทรานซิสเตอร์ 2 ตัวมาทำงานร่วมกัน โดยแต่ละตัวจะผลัดกันทำงานตัวละครึ่ง Cycleจึงจะไ ด้ลื่น เราเรียกการทำงานแบบนี้ว่า push-pull วงจรขยาย Class B นี้ จะมีประสิทธิภาพสูงกว่า Class A มากแต่จะมีความเพี้ยนมากกว่าด้วย
วงจรขยาย Class AB เนื่องจากวงจรขยาย Class B จะมีความเพี้ยนของสัญญาณเอ้าพุตเกิดขึ้น ระหว่างรอยต่อของสัญญาณซีกบวกและลบ เนื่งจากสัญญาณซีกบวกจะต้องมีค่ามากกว่า >= +1 Vbe จึงจะได้
สัญญาณเอ้าพุตออกมา และในสัญญาณซีกลบก็ต้องมีค่า <= -1 Vbe จึงจะได้สัญญาณเอ้าพุตออกมา เช่นกัน ดังนั้น สัญญาณในช่วงระหว่าง +1 Vbe ถึง -1Vbe ก็จะไม่มีเอ้าพุตในช่วงนี้ออกมา ทำให้สัญญาณเอ้าพุตมีความเพี้ยนซึ่งเรียกว่า "Crossover Distortion"
ถ้าเราต้องการลดความเพี้ยนตรงรอยต่อนี้ ก็ต้องลดประสิทธิภาพของวงจร Class B ลงไปเป็น Class AB
แทนดยการใช้ทรานซิสเตอร์ 2 ตัวซึ่งจะมีประสิทธิภาพอยู่ระหว่าง Class A กับ Class B โดยที่จุดทำงาน Q-
point ของ Class AB จะอยู่เหนือ Class B มาประมาณ 0.7V. หรือมากกว่านั้นเล็กน้อย
วงจรขยาย Class C เป็นวงจรขยายกำลังที่กำหนดให้จุดทำงาน Q-point อยู่ต่ำกว่าจุด cut-off จึงทำให้สัญญาณเกิดไม่ถึงครึ่ง Cycle จึงทำให้สัญญาณที่ได้มีความเพี้ยนสูงมาก แต่ถ้าให้สัญญาณนี้ไปผ่านวงจร
กรองแถบความถี่ผ่าน (Band pass filter) ชนิด LC ก็จะสามารถให้สัญญาณออกเป็นไซน์ได้เช่นกัน วงจรขยาย Class C นี้ไม่เหมาะที่จะใช้ขยายเสียง แต่จะนำไปใช้กับการขยายสัญญาณที่ต้องการกำลังงานสูงๆ
มากกว่าต้องการความเที่ยงตรงของสัญญาณ เช่นวงจรขยายสัญญาณความถี่วิทยุ FM หรือ VHF ที่ต้องส่งไปให้ไกล วงจรขยายแบบนี้จะมีประสิทธิภาพสูงมาก เมื่อเทียบกับแบบอื่นๆ