วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีการ เช็คทรานซิสเตอร์ ว่าดีหรือเสีย

วิธีการ เช็คทรานซิสเตอร์ ว่าดีหรือเสีย



การวัดด้วยมิเตอร์แบบเข็ม หลักการวัดเหมือนไดโอด คือ วัดการนำกระแสของ ไดโอดแต่ละตัว เนื่องจากทรายซิสเตอร์มี 2 ประเภท คือ NPN ,PNP ตามตัวอย่างเป็นแบบ NPN
1.การหาชนิด ทรานซิสเตอร์
1.1 เริ่มจากการตั้งย่านการวัดที่ x10
1.2 นำสายมิเตอร์จับขาใดขาหนึ่งของทรานซิสเตอร์ ไว้
1.3 สายมิเตอร์อีกเส้น จับวัดสองขาที่เหลือ ที่ละขา พร้อมกับสังเกต ค.ต.ท ที่วัดได้ว่า ต่ำหรือสูง เราพอประมาณค่า ค.ต.ท ไดโอดที่ดีว่า ประมาณเท่าไรได้ เราสนใจ ค.ต.ท ต่ำ 2 ครั้ง หากไม่ได้ลองเปลี่ยน จับขาอื่นๆที่เหลือ
1.4 ถ้า สายวัดสีแดงจับขา 1 และสายวัดสีดำจับ ขา 2,3 มี ค.ต.ท ต่ำ แสดงว่า ขา1 เป็นขา B
ขา 2,3 เป็น C หรือ E (ต้องหาอีกครั้ง) และทรานซิสเตอร์ เป็นชนิด PNP
1.5 ถ้า สายวัดสีดำจับที่ ขา 1 และ สายแดง จับที่ขา 2,3 มีค.ต.ท ต่ำ แสดงว่า ขา 1 เป็นขา B
ขา 2,3 เป็น C หรือ E (ต้องหาอีครั้งหนึ่ง) และทรานซิสเตอร์เป็นชนิด PNP
การหาขา C และ E ที่เหลือหลังจากเรารู้ขา B และ ชนิดทรานซิสเตอร์แล้ว








2.ทรานซิสเตอร์ ชนิด NPN
ใช้สายวัดสีดำจับที่ขา 2 สีแดง จับที่ขา 3 และจับขา B Short กับสายสีดำที่จับขา2 หรือใช้ปากคีบก็ได้ สังเกต ค.ต.ท เปลี่ยนเป็น ลดลงเป็น ค.ต.ท ต่ำหรือไม่
ถ้า ค.ต.ท สูงเหมือนเดิม ขาที่สายสีดำจับอยู่ ขา 2 เป็นขา E ส่วนขา 3 ที่เหลือเป็น ขา C ให้กลับสายมิเตอร์ ใหม่แล้วทำซ้ำ
ถ้า ค.ต.ท ต่ำ แสดงว่าขา 2 ที่สีดำจับอยู่เป็นขา C ขาที่เหลือเป็นขา E
ทิป 1. หากการวัดไม่เป็นตามที่กล่าวมา อาจเป็นไปได้ว่าโครงสร้างทรานซิสเตอร์ เป็นแบบพิเศษ เช่น มี R คร่อม C-E หรือ คร่อม BC หรือเป็นทรานซิสเตอร์แบบ Darlington ต่อดู datasheet ประกอบด้วย
2.อาจเป็นอุปกรณ์อื่นที่ไม่ใช่ทรานซิสเตอร์ ให้ดูวงจรหรือ datasheet ประกอบ
3.การทริก ขา B ด้วยไฟ DC สำหรับทรานซิสเตอร์ขนาดเล็ก ตั้งมิเตอร์ที่ X10 ถ้าตั้ง X1 ทำให้ทรานซิสเตอร์เสียได้ หรือ power transistor ควรตั้งที่ X1 หากตั้ง X10 ทรานซิสเตอร์ไม่ทำงาน และวัดไม่ได้ผล ที่แน่นอน


การทดสอบเพื่อหาตำแหน่งขาทรานซิสเตอร์ 

              ในการพิสูจน์หาตำแหน่งของทรานซิสเตอร์ โดยการสังเกตดูว่า ขาใดอยู่ใกล้กับขอบเดือยเป็นขา E ขาที่อยู่ตรงข้ามเป็นขา C ส่วนตำแหน่งกลางคือขา B

การทดสอบหาชนิดของทรานซิสเตอร์ NPN และ PNP

1. เลือกขาตำแหน่งกลาง แล้วสมมุติให้เป็นขาเบส จากนั้นนำสายวัด(--) ของโอห์มมิเตอร์มาแตะที่ขาเบส ส่วนสายวัด ( + ) ให้นำมาแตะกับสองขาที่เหลือ
2. ถ้าความต้านทานที่อ่านได้จากการแตะขาทั้งสองมีค่าต่ำ สรุปได้ทันทีว่า ขาที่ตำแหน่งกลางเป็นขาเบส และทรานซิสเตอร์ที่ทำการวัดนี้เป็นชนิด PNP
3. สำหรับขาอิมิตเตอร์ คือ ขาที่อยู่ใกล้ตำแหน่งเดือย และขาที่เหลือคือขาคอลเลคเตอร์นั่นเอง
4. ถ้าความต้านทานที่อ่านได้มีค่าสูงให้สลับสายวัด
5. ถ้าความต้านทานที่อ่านได้จากการแตะขาทั้งสองมีค่าต่ำ สรุปได้ทันที ขาตำแหน่งกลางคือขาเบส และเป็นทรานซิสเตอร์ชนิด NPN
6. ถ้าหากว่าความต้านทานต่ำไม่ปรากฏในทั้งสองกรณี ให้เปลี่ยนเลือกขาอื่นเป็นขาเบส แล้วทำตามขั้นตอนเดิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น