บทที่ 1 วงจรขยายสัญญาณพื้นฐานโดยใช้ออปแอมป์
ออปแอมป์และวงจรขยายสัญญาณพื้นฐานโดยใช้ออปแอมป์
(OP – AMP Basic Amplifier Configurations Using OP – AMPS)
ปัจจุบันความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการออกแบบวงจรรวม หรือ ไอซี (Integrated Circuit, IC)
มีความเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วมาก ทำให้วงจรทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประมวลผลสัญญาณแบบ
ต่าง ๆ ถูกนำมาออกแบบและผลิตให้อยู่ในรูปของไอซีเสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากคุณสมบัติของไอซีนั้นมี
ข้อดีหลายประการ อาทิ เช่น มีขนาดเล็ก มีความสะดวกในการใช้งาน รวมทั้งสามารถนำไปใช้งานได้ง่าย เป็นต้น
วงจร ขยายสัญญาณออปแอมป์ (Operational Amplifier, OP – AMP) หรือที่มักเรียก กันสั้นๆ ว่า “ออปแอมป์” นั้นก็เป็นวงจร ขยายสัญญาณพื้นฐานสำเร็จรูปอีกชนิดหนึ่งที่ถูกออกแบบและนำไปบรรจุลงในชิพ
ไอซีเดียวกัน ซึ่งนิยมนำไปประยุกต์ใช้งานอย่างแพร่หลายในงานด้านการประมวลผลสัญญาณ อนาลอก (analog signal processing) ต่าง ๆ มากมาย เช่น ระบบสื่อสาร ระบบการวัดและระบบควบคุมกระบวนการผลิต เป็นต้น เนื่องจากการใช้งานออปแอมป์ไม่ยุ่งยาก และง่ายต่อการออกแบบวงจรต่าง ๆ ทั้งราคาของ
ออปแอมป์ก็ถูกลงมาก จึงนับได้ว่าออปแอมป์เป็นอุปกรณ์แอคทีฟ (Active device) ที่สำคัญและมีประโยชน์มากในระบบการประมวลผลสัญญาณ อนาลอกรูปแบบต่าง ๆ ดังนั้นในบทนี้จะกล่าวถึงคุณสมบัติพื้นฐานของ
ออปแอมป์ ตลอดจนวงจรขยายสัญญาณพื้นฐานแบบต่าง ๆ ที่ใช้ออปแอมป์เป็นอุปกรณ์หลัก โดยจะกล่าวใน
มีความเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วมาก ทำให้วงจรทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประมวลผลสัญญาณแบบ
ต่าง ๆ ถูกนำมาออกแบบและผลิตให้อยู่ในรูปของไอซีเสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากคุณสมบัติของไอซีนั้นมี
ข้อดีหลายประการ อาทิ เช่น มีขนาดเล็ก มีความสะดวกในการใช้งาน รวมทั้งสามารถนำไปใช้งานได้ง่าย เป็นต้น
วงจร ขยายสัญญาณออปแอมป์ (Operational Amplifier, OP – AMP) หรือที่มักเรียก กันสั้นๆ ว่า “ออปแอมป์” นั้นก็เป็นวงจร ขยายสัญญาณพื้นฐานสำเร็จรูปอีกชนิดหนึ่งที่ถูกออกแบบและนำไปบรรจุลงในชิพ
ไอซีเดียวกัน ซึ่งนิยมนำไปประยุกต์ใช้งานอย่างแพร่หลายในงานด้านการประมวลผลสัญญาณ อนาลอก (analog signal processing) ต่าง ๆ มากมาย เช่น ระบบสื่อสาร ระบบการวัดและระบบควบคุมกระบวนการผลิต เป็นต้น เนื่องจากการใช้งานออปแอมป์ไม่ยุ่งยาก และง่ายต่อการออกแบบวงจรต่าง ๆ ทั้งราคาของ
ออปแอมป์ก็ถูกลงมาก จึงนับได้ว่าออปแอมป์เป็นอุปกรณ์แอคทีฟ (Active device) ที่สำคัญและมีประโยชน์มากในระบบการประมวลผลสัญญาณ อนาลอกรูปแบบต่าง ๆ ดังนั้นในบทนี้จะกล่าวถึงคุณสมบัติพื้นฐานของ
ออปแอมป์ ตลอดจนวงจรขยายสัญญาณพื้นฐานแบบต่าง ๆ ที่ใช้ออปแอมป์เป็นอุปกรณ์หลัก โดยจะกล่าวใน
รายละเอียดการทำงานของแต่ละวงจรในแต่ละหัวข้อต่อไป
1.1 สัญลักษณ์ ของออปแอมป์
ในวงจรไฟฟ้าจะเป็นรูปสามเหลี่ยมโดยจะประกอบไปด้วย
1.1.1 ขั้วอินพุตบวก (Non-inverting)
1.1.2 ขั้วอินพุตลบ (Inverting)
1.1.3 ขั้วเอาท์พุต (Out put)
1.1.4 ขั้วแรงดันไฟเลี้ยง บวก และลบ ซึ่งปกติไม่ได้แสดงในสัญลักษณ์
รูปที่ 1 วงจรรวมสัญญาณ
1.2 วงจรอินทิเกรเตอร์ (Integrator) วงจรอินทิเกรเตอร์เมื่ออาศัยคุณสมบัติของออปแอมป์ (V1 = 0) จะได้กระแสที่ไหลผ่าน R ก็คือ กระแสที่ไหลผ่าน C (IR = IC)
เมื่อ Vout(0) คือค่าของแรงดันเอาท์พุทที่ เวลา t = 0 ซึ่งขึ้นกับประจุแรกเริ่มที่คงค่าอยู่ในตัวเก็บประจุ จากสมการแสดงให้เห็นว่าแรงดันเอาท์พุทของวงจรเป็นสัดส่วนโดยตรงกับค่าอิน ทิกรัล (integral) ของแรงดันอินพุทซึ่งมีค่าคงที่ขึ้นกับค่าของ R และ C (มีหน่วยเป็น1 sec-1) วงจรอินทิเกรเตอร์นี้มักถูกนิยมนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้าน ต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย เช่น วงจร กรองสัญญาณความถี่ (activefilter) วงจรแป ลงสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอล (analog – to – digital converter) หรือวงจรกำเนิด สัญญาณรูปแบบ ต่าง ๆ (function generator) เป็น ต้น นอกจากนี้หากทำการต่อตัวเก็บระจุ C แทนตัวต้านทาน Rf ในวงจรรวมสัญญาณ ดังรูปที่ 1.2ก็จะได้วงจรอินทิเกรเตอร์รวมสัญญาณ (summing integrator)
รูปที่ 2 วงจรรวมสัญญาณ
1.3 วงจรดิฟเฟอเรนซิเอเตอร์ (Differentiator) จากวงจรอิน ทิเกรเตอร์ในรูปที่ 1.2 นั้น หากทำการสลับตำแหน่งของ R กับ C แล้ว วงจรจะกลายเป็นวงจรดิฟเฟอเรนซิเอเตอร์ ซึ่งแสดงได้ดังรูปที่ 1.3ความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันเอาท์พุทกับแรงดันอินพุทของวงจรสามารถ หาได้เป็น
Vout(t) = – RC dVin(t) /dt
จะเห็นว่าขณะนี้วงจรจะให้ความสัมพันธ์ของ แรงดันเอาท์พุทเป็นสัดส่วนโดยตรงกับค่าอนุพันธ์ (derivative) ของแรงดันอินพุทโดยมีค่าคงที่ขึ้นกับค่าของ R และ C วงจรดิฟเฟอเรนซิเอเตอร์ดัง กล่าวนิยมนำไปใช้ในงานเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในวงจรการประมวลผลสัญญาณต่าง ๆ อาทิ เช่น การคูณ (multiplication) การลบ (subtraction) การบวก (summation) เป็นต้น และเช่นเดียวกันเมื่อทำการต่อตัวเก็บประจุ C อนุกรม กับตัวต้านทาน R1, R2, R3, … , Rn ทางอินพุทของวงจรรวมสัญญาณดังรูปที่ 1.3 แล้วก็จะได้วงจรดิฟเฟอเรน
ซิเอเตอร์รวมสัญญาณ (Summing differentiator)
1.4ออปแอมป์ในอุดมคติ (Ideal Op Amp)
ออปแอมป์ ที่เป็นอุดมคติซึ่งจะมีคุณสมบัติดังนี้
อัตราขยายวงเปิดมีค่าเป็นอนันต์, A มีค่าประมาณหรือเท่ากับ Infinity
ความต้านทานเอาท์พุตมีค่าเป็นศูนย์ Ro
ผลตอบสนองความถี่ได้ตั้งแต่
จากคุณสมบัติดังกล่าวจะทำให้การวิเคราะห์วงจรง่าย ขึ้นโดยคิดดังนี้
กระแสที่ไหลเข้าขั้ว อินพุตทั้งสองเป็นศูนย์ นั่นคือ i1=0 i2=0
หมายเหตุ ห้าม คิด KCL ที่โนดเอาท์พุต เนื่องจากกระแสที่เอาท์พุตจะไหลเข้า หรือออกก็ได้ และมีขนาดไม่แน่นอนโดยขึ้นกับอินพุตด้วย
เมื่อมีการต่อวงจรในแบบ ป้อนกลับแบบลบ
แรงดันที่ ตกคร่อมขั้วอินพุตมีค่าน้อยมากจนไม่ต้องนำมาคิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น